วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556

กฎหมายเกี่ยวกับ E-commerce

พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาตราที่ 7-46
หมวด 1 ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
มาตรา 7 ห้ามมิให้ปฏิเสธความมีผลผูกพันและการบังคับใช้ทางกฎหมายของข้อความใด เพียงเพราะเหตุที่ข้อความนั้นอยู่ในรูป ของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
มาตรา 8 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่ง มาตรา 9 ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้การใดต้องทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือ มีเอกสารมาแสดง ถ้าได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง ให้ถือว่าข้อ ความนั้นได้ทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดงแล้ว
มาตรา 9 ในกรณีที่บุคคลพึงลงลายมือชื่อในหนังสือ ให้ถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีการลงลายมือชื่อแล้ว ถ้า
1) ใช้วิธีการที่สามารถระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อ และสามารถแสดงได้ว่าเจ้าของลายมือชื่อรับรองข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นว่าเป็นของตน และ
2) วิธีการดังกล่าวเป็นวิธีการที่เชื่อถือได้โดยเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการสร้าง หรือส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยคำนึงถึงพฤติการณ์แวดล้อมหรือข้อตกลงของคู่กรณี
มาตรา 10 ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้นำเสนอหรือเก็บรักษาข้อความใดในสภาพที่เป็นมาแต่เดิมอย่างเอกสารต้นฉบับ ถ้าได้นำเสนอหรือเก็บรักษาในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าได้มีการนำเสนอหรือเก็บรักษาเป็นเอกสาร ต้นฉบับตามกฎหมายแล้ว
1) ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้ใช้วิธีการที่เชื่อถือได้ในการรักษาความถูกต้อง ของข้อความตั้งแต่การสร้างข้อความเสร็จสมบูรณ์ และ
2) สามารถแสดงข้อความนั้นในภายหลังได้
** ความถูกต้องของข้อความตาม 1) ให้พิจารณาถึงความครบถ้วนและไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดของข้อความ เว้นแต่การรับรอง หรือบันทึกเพิ่มเติม หรือการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตามปกติในการติดต่อสื่อสาร การเก็บรักษา หรือการแสดงข้อความซึ่งไม่มีผลต่อความถูกต้องของข้อความนั้น
** ในการวินิจฉัยความน่าเชื่อถือของวิธีการรักษาความถูกต้องของข้อความตาม 1) ให้พิเคราะห์ถึงพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องทั้งปวง รวมทั้งวัตถุประสงค์ของการสร้างข้อความนั้น
มาตรา 11 ห้ามมิให้ปฏิเสธการรับฟังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐาน ในกระบวนการพิจารณาตามกฎหมายเพียงเพราะ เหตุว่าเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
** ในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จะเชื่อถือได้หรือไม่เพียงใดนั้น ให้พิเคราะห์ถึงความน่าเชื่อถือของลักษณะหรือ วิธีการที่ใช้สร้าง เก็บรักษา หรือสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ลักษณะ หรือวิธีการรักษา ความครบถ้วน และไม่มีการเปลี่ยนแปลงของข้อความ ลักษณะหรือวิธีการ ที่ใช้ในการระบุหรือแสดงตัวผู้ส่งข้อมูล รวมทั้งพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องทั้งปวง
มาตรา 12 ภายใต้บังคับบทบัญญัติ มาตรา 10 ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้เก็บรักษาเอกสารหรือข้อความใด ถ้าได้เก็บรักษา ในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าได้มีการเก็บรักษาเอกสารหรือข้อความตามที่กฎหมายต้องการแล้ว
1) ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นสามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง
2) ได้เก็บรักษาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นอยู่ในขณะที่สร้าง ส่ง หรือได้รับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น หรือ อยู่ในรูปแบบที่สามารถแสดงข้อความที่สร้าง ส่ง หรือได้รับให้ปรากฏอย่างถูกต้องได้ และ
3) ได้เก็บรักษาข้อความส่วนที่ระบุถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง และปลายทางของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนวันและเวลาที่ส่งหรือ ได้รับข้อความดังกล่าว ถ้ามี
ความในวรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับกับข้อความที่ใช้เพียงเพื่อวัตถุประสงค์ในการส่งหรือรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบในการเก็บรักษาเอกสารหรือข้อความใด อาจกำหนดหลักเกณฑ์ รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการ เก็บรักษาเอกสารหรือข้อความนั้นได้ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติในมาตรานี้
มาตรา 13 คำเสนอหรือคำสนองในการทำสัญญา อาจทำเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ และห้ามมิให้ปฏิเสธการมีผลทางกฎหมายของสัญญาเพียงเพราะเหตุที่สัญญานั้นได้ทำคำเสนอหรือคำสนองเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
มาตรา 14 ในระหว่างผู้ส่งข้อมูลและผู้รับข้อมูล การแสดงเจตนาหรือคำบอกกล่าวอาจทำเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
มาตรา 15 บุคคลใดเป็นผู้ส่งข้อมูลไม่ว่าจะเป็นการส่งโดยวิธีใด ให้ถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นของผู้นั้น
ในระหว่างผู้ส่งข้อมูลและผู้รับข้อมูล ให้ถือว่าเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ส่งข้อมูล หากข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้ส่งโดย
1) บุคคลผู้มีอำนาจกระทำการแทนผู้ส่งข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น หรือ
2) ระบบข้อมูลที่ผู้ส่งข้อมูลหรือบุคคลผู้มีอำนาจกระทำการแทนผู้ส่งข้อมูลได้กำหนด ไว้ล่วงหน้าให้สามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติ
มาตรา 16 ผู้รับข้อมูลชอบที่จะถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นของผู้ส่งข้อมูลและชอบที่จะดำเนินการไป ตามข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้ ถ้า
1) ผู้รับข้อมูลได้ตรวจสอบโดยสมควรตามวิธีการที่ได้ตกลงกับผู้ส่งข้อมูล ว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นของผู้ส่งข้อมูล หรือ
2) ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้รับข้อมูลได้รับนั้นเกิดจากการกระทำของบุคคลซึ่ง ใช้วิธีการที่ผู้ส่งข้อมูลใช้ในการแสดงว่าข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์นั้นเป็นของผู้ส่งข้อมูล ซึ่งบุคคลนั้นได้ล่วงรู้โดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลนั้นกับผู้ส่งข้อมูล หรือผู้มีอำนาจกระทำการแทนผู้ส่งข้อมูล
** ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับ ถ้า
(1) ในขณะนั้นผู้รับข้อมูลได้รับแจ้งจากผู้ส่งข้อมูลว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้รับข้อมูลได้รับนั้นมิใช่ของผู้ส่งข้อมูล และในขณะเดียวกันผู้รับข้อมูลมีเวลาพอสมควรที่จะตรวจสอบข้อเท็จจริงตามที่ได้รับแจ้งนั้น หรือ
(2) กรณีตามวรรคหนึ่ง เมื่อผู้รับข้อมูลได้รู้หรือควรจะได้รู้ว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นไม่ใช่ของผู้ส่งข้อมูล หากผู้รับข้อมูล ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร หรือดำเนินการตามวิธีการที่ได้ตกลงกันไว้ก่อนแล้ว
มาตรา 17 ในกรณีตาม มาตรา 15 หรือ มาตรา 16 วรรคหนึ่ง ในระหว่างผู้ส่งข้อมูลและผู้รับข้อมูล ผู้รับข้อมูล ผู้รับข้อมูลมีสิทธิถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่รับนั้นถูกต้องตามเจตนาของผู้ส่งข้อมูล และสามารถดำเนินการไปตามข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้ เว้นแต่ผู้รับข้อมูลได้รู้หรือควรจะได้รู้ว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับนั้นมีข้อผิดพลาดอันเกิดจากการส่ง หากผู้รับข้อมูลได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรหรือดำเนินการ ตามวิธีการที่ได้ตกลงกันไว้ก่อนแล้ว
มาตรา 18 ผู้รับข้อมูลชอบที่จะถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับแต่ละชุดเป็นข้อมูลที่แยกจากกัน และสามารถดำเนินการไป ตามข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แต่ละชุดนั้นได้ เว้นแต่ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ชุดนั้นจะซ้ำกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อีกชุดหนึ่ง และผู้รับข้อมูลได้รู้หรือควรจะได้รู้ว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซ้ำ หากผู้รับข้อมูลได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรหรือดำเนินการตามวิธีการที่ได้ตกลงกันไว้ก่อนแล้ว
มาตรา 19 ในกรณีที่ต้องมีการตอบแจ้งการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าผู้ส่งข้อมูลได้ร้องขอ หรือตกลงกับผู้รับข้อมูล ไว้ก่อนหรือขณะที่ส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือปรากฏในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1) ในกรณีที่ผู้ส่งข้อมูลมิได้ตกลงให้ตอบแจ้งการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบหรือวิธีการใดโดยเฉพาะ การตอบ แจ้งการรับอาจทำได้ด้วยการติดต่อสื่อสารจากผู้รับข้อมูล ไม่ว่าโดยระบบข้อมูลที่ทำงานโดยอัตโนมัติหรือโดยวิธีอื่นใด หรือด้วยการกระทำใดๆ ของผู้รับข้อมูลซึ่งเพียงพอจะแสดงต่อผู้ส่งข้อมูล ว่าผู้รับข้อมูลได้รับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นแล้ว
2) ในกรณีที่ผู้ส่งข้อมูลกำหนดเงื่อนไขว่าจะถือว่ามีการส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต่อเมื่อ ได้รับการตอบแจ้งการรับจากผู้รับข้อมูล ให้ถือว่ายังไม่มีการส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จนกว่าผู้ส่งข้อมูลจะได้รับการตอบแจ้งการรับแล้ว
3) ในกรณีที่ผู้ส่งข้อมูลมิได้กำหนดเงื่อนไขตามความใน 2) และผู้ส่งข้อมูลมิได้รับการตอบแจ้งการรับนั้นภายในเวลาที่กำหนด หรือตกลงกัน หรือภายในระยะเวลาอันสมควรในกรณีที่มิได้กำหนดหรือตกลงเวลาไว้
-ผู้ส่งข้อมูลอาจส่งคำบอกกล่าวไปยังผู้รับข้อมูลว่าตนยังมิได้รับการตอบแจ้งการรับ และกำหนดระยะเวลาอันสมควรให้ผู้รับ ข้อมูลตอบแจ้งการรับ และ
-หากผู้ส่งข้อมูลมิได้รับการตอบแจ้งการรับภายในระยะเวลาตาม (ก) เมื่อผู้ส่งข้อมูลบอกกล่าวแก่ผู้รับข้อมูลแล้ว ผู้ส่งข้อมูลชอบที่จะถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นมิได้มีการส่งเลย หรือผู้ส่งข้อมูลอาจใช้สิทธิอื่นใดที่ผู้ส่งข้อมูลมีอยู่ได้
มาตรา 20 ในกรณีที่ผู้ส่งข้อมูลได้รับการตอบแจ้งการรับจากผู้รับข้อมูล ให้สันนิษฐานว่า ผู้รับข้อมูลได้รับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ที่เกี่ยวข้องแล้ว แต่ข้อสันนิษฐานดังกล่าวมิได้ถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้รับข้อมูล ได้รับนั้นถูกต้องตรงกันกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผู้ส่งข้อมูลได้ส่งมา
มาตรา 21 ในกรณีที่ปรากฏในการตอบแจ้งการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นเองว่า ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้รับข้อมูลได้รับเป็นไปตามข้อกำหนดทางเทคนิคที่ผู้ส่งข้อมูลและผู้รับข้อมูลได้ตกลง หรือระบุไว้ในมาตรฐานซึ่ง ใช้บังคับอยู่ ให้สันนิษฐานว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งไปนั้น ได้เป็นไปตามข้อกำหนดทางเทคนิคทั้งหมดแล้ว
มาตรา 22 การส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้ถือว่าได้มีการส่งเมื่อข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น ได้เข้าสู่ระบบข้อมูลที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของผู้ส่งข้อมูล
มาตรา 23 การรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้ถือว่ามีผลนับแต่เวลาที่ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้เข้าสู่ระบบข้อมูลของผู้รับข้อมูล
หากผู้รับข้อมูลได้กำหนดระบบข้อมูลที่ประสงค์จะใช้ในการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ไว้โดยเฉพาะ ให้ถือว่าการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มีผลนับแต่เวลาที่ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้เข้าสู่ระบบข้อมูลที่ผู้รับข้อมูลได้กำหนดไว้นั้น แต่ถ้าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวได้ส่งไปยังระบบข้อมูลอื่นของผู้รับข้อมูล ซึ่งมิใช่ระบบข้อมูลที่ผู้รับข้อมูลกำหนดไว้ ให้ถือว่าการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มีผลนับแต่เวลาที่ได้เรียกข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จากระบบข้อมูลนั้น
ความในมาตรานี้ให้ใช้บังคับแม้ระบบข้อมูลของผู้รับข้อมูลตั้งอยู่ในสถานที่อีกแห่งหนึ่งต่างหากจากสถานที่ที่ถือว่าผู้รับข้อมูล ได้รับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตาม มาตรา 24
มาตรา 24 การส่งหรือการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ให้ถือว่าได้ส่ง ณ ที่ทำการงานของผู้ส่งข้อมูล หรือได้รับ ณ ที่ทำการงาน ของผู้รับข้อมูล แล้วแต่กรณี
** ในกรณีที่ผู้ส่งข้อมูลหรือผู้รับข้อมูลมีที่ทำการงานหลายแห่ง ให้ถือเอาที่ทำการงานที่เกี่ยวข้องมากที่สุดกับธุรกรรมนั้นเป็นที่ทำการงาน เพื่อประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง แต่ถ้าไม่สามารถกำหนดได้ว่าธุรกรรมนั้นเกี่ยวข้องกับที่ทำการงานแห่งใดมากที่สุด ให้ถือเอาสำนักงานใหญ่เป็นสถานที่ที่ได้รับหรือส่ง ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น
** ในกรณีที่ไม่ปรากฏที่ทำการงานของผู้ส่งข้อมูลหรือผู้รับข้อมูล ให้ถือเอาถิ่นที่อยู่ปกติเป็นสถานที่ที่ส่งหรือได้รับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ความในมาตรานี้มิให้ใช้บังคับกับการส่ง และการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยวิธีการทางโทรเลข และโทรพิมพ์ หรือวิธีการสื่อสาร อื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
มาตรา 25 ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ใดที่ได้กระทำตามวิธีการแบบปลอดภัยที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ให้สันนิษฐานว่าเป็น วิธีการที่เชื่อถือได้
:: หมวด 2 ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
มาตรา 26 ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้
1) ข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้นได้เชื่อมโยงไปยังเจ้าของลายมือชื่อ โดยไม่เชื่อมโยงไปยังบุคคลอื่นภายใต้สภาพที่นำมาใช้
2) ในขณะสร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้น ข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์อยู่ภายใต้การควบคุมของลายมือชื่อ โดยไม่มีการควบคุมของบุคคลอื่น
3) การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่เกิดแก่ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ นับแต่เวลาที่ได้สร้างขึ้น สามารถจะตรวจพบได้ และ
4) ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นไปเพื่อรับรองความครบถ้วน และไม่มีการเปลี่ยนแปลงของข้อความ การเปลี่ยนแปลงใดแก่ข้อความนั้นสามารถตรวจพบได้นับแต่เวลาที่ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
- บทบัญญัติในวรรคหนึ่ง ไม่เป็นการจำกัดว่าไม่มีวิธีการอื่นใดที่แสดงได้ว่าเป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้ หรือการแสดงพยานหลักฐานใดเกี่ยวกับความไม่น่าเชื่อถือของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
มาตรา 27 ในกรณีมีการใช้ข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่จะมีผลตาม กฎหมายเจ้าของลายมือชื่อต้องดำเนินการดังต่อไปนี้
1) ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อมิให้มีการใช้ข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่ได้รับอนุญาต
2) แจ้งให้บุคคลที่คาดหมายได้โดยมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะกระทำการใดโดยขึ้นอยู่กับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือให้บริการเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทราบโดยมิชักช้า เมื่อ
- เจ้าของลายมือชื่อรู้หรือควรได้รู้ว่าข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้น สูญหาย ถูกทำลาย ถูกแก้ไข ถูกเปิดเผย โดยมิชอบ หรือถูกล่วงรู้โดยไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
- เจ้าของลายมือชื่อรู้จากสภาพการณ์ที่ปรากฏว่ากรณีมีความเสี่ยงมากพอที่ข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ สูญ หาย ถูกทำลาย ถูกแก้ไข ถูกเปิดเผยโดยมิชอบ หรือถูกล่วงรู้โดยไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
3) ในกรณีมีการออกใบรับรองสนับสนุนการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ จะต้องใช้ความระมัดระวังตามสมควรให้แน่ใจในความถูกต้อง และสมบูรณ์ของการแสดงสาระสำคัญทั้งหมด ซึ่งกระทำโดยเจ้าของลายมือชื่อ เกี่ยวกับใบรับรองนั้นตลอดอายุใบรับรอง หรือตามที่มีการกำหนดในใบรับรอง
มาตรา 28 ในกรณีมีการให้บริการออกใบรับรองเพื่อสนับสนุนลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ให้มีผลทางกฎหมายเสมือนหนึ่ง ลงลายมือชื่อ ผู้ให้บริการออกใบรับรองต้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้
1) ปฏิบัติตามแนวนโยบายและแนวปฏิบัติที่ตนได้แสดงไว้
2) ใช้ความระมัดระวังตามสมควรให้แน่ใจในความถูกต้อง และความสมบูรณ์ของการแสดงสาระสำคัญทั้งหมดที่ตนได้กระทำเกี่ยวกับใบรับรองนั้นตลอดอายุใบรับรอง หรือตามที่มีการกำหนดในใบรับรอง
3) จัดให้มีวิธีการในการเข้าถึงโดยสมควร ให้คู่กรณีที่เกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงในการแสดงสาระสำคัญทั้งหมดจาก ใบรับรองได้ ในเรื่องดังต่อไปนี้
- การระบุผู้ให้บริการออกใบรับรอง
- เจ้าของลายมือชื่อซึ่งระบุในใบรับรองได้ควบคุมข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ในขณะมีการออกใบรับรอง
- ข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์มีผลใช้ได้ในขณะหรือก่อนที่มีการออกใบรับรอง
4) จัดให้มีวิธีการเข้าถึงโดยสมควร ให้คู่กรณีที่เกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบกรณีดังต่อไปนี้จากใบรับรองหรือจากวิธีอื่น
- วิธีการที่ใช้ในการระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อ
- ข้อจำกัดเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และคุณค่าที่มีการนำข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับรอง
- ข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์มีผลสมบูรณ์ใช้ได้ และไม่สูญหาย ถูกทำลาย ถูกแก้ไข ถูกเปิดเผย โดยมิชอบ หรือถูกล่วงรู้โดยไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
- ข้อจำกัดเกี่ยวกับขอบเขตความรับผิดที่ผู้ให้บริการออกใบรับรองได้ระบุไว้
- การมีวิธีการให้เจ้าของลายมือชื่อส่งคำบอกกล่าวเมื่อมีเหตุตาม มาตรา 27 2)
- การมีบริการเกี่ยวกับการเพิกถอนใบรับรองที่ทันการ
5) ในกรณีที่มีบริการตามบริการนั้นต้องมีวิธีการที่ให้เจ้าของลายมือชื่อสามารถแจ้งได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ตาม มาตรา 27 และในกรณีที่มีบริการตามบริการนั้นต้องสามารถเพิกถอนใบรับรองได้ทันการ
6) ให้ระบบ วิธีการ และบุคลากรที่เชื่อถือได้ในการให้บริการ
มาตรา 29 ในการพิจารณาความเชื่อถือได้ของระบบ วิธีการ และบุคลากรตาม มาตรา 2ให้คำนึงถึงกรณีดังต่อไปนี้
1) สถานภาพทางการเงิน บุคลากร และสินทรัพย์ที่มีอยู่
2) คุณภาพของระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
3) วิธีการออกใบรับรอง การขอใบรับรอง และการเก็บรักษาข้อมูลการให้บริการนั้น
4) การจัดให้มีข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเจ้าของลายมือชื่อ ที่ระบุในใบรับรองและผู้ที่อาจคาดหมายได้ว่าจะเป็นคู่กรณีที่เกี่ยวข้อง
5) ความสม่ำเสมอและขอบเขตในการตรวจสอบโดยผู้ตรวจสอบอิสระ
6) องค์กรที่ให้การรับรองหรือให้บริการออกใบรับรองเกี่ยวกับการปฏิบัติหรือการมีอยู่ของสิ่งที่กล่าวมาใน
มาตรา 30 คู่กรณีที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้
1) ดำเนินการตามสมควรในการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
2) ในกรณีลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์มีใบรับรอง ต้องมีการดำเนินการตามสมควร ดังนี้
-ตรวจสอบความสมบูรณ์ของใบรับรอง การพักใช้ หรือการเพิกถอนใบรับรอง และ
- ปฏิบัติตามข้อจำกัดใด ๆ ที่เกี่ยวกับใบรับรอง
มาตรา 31 ใบรับรองหรือลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้ถือว่ามีผลทางกฎหมายโดยไม่ต้องคำนึงถึง
1) สถานที่ออกใบรับรองหรือสถานที่สร้าง หรือใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือ
2) สถานที่ทำการงานของผู้ออกใบรับรอง หรือเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
ใบรับรองที่ออกในต่างประเทศให้มีผลตามกฎหมายในประเทศ เช่นเดียวกับใบรับรองที่ออกในประเทศ หากการออกใบรับรองดังกล่าวได้ใช้ระบบที่เชื่อถือได้ไม่น้อยกว่าระบบที่เชื่อถือได้ตามพระราชบัญญัตินี้
-ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างหรือใช้ในต่างประเทศให้ถือว่ามีผลตามกฎหมายในประเทศ เช่นเดียวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ สร้างหรือใช้ในประเทศ หากการสร้างหรือใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวได้ใช้ระบบที่เชื่อถือได้ไม่น้อยกว่าระบบที่เชื่อถือได้ตามพระราชบัญญัตินี้
-ในการพิจารณาว่าใบรับรองหรือลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ใดมีความเชื่อถือได้ตามวรรคสอง หรือวรรคสาม ให้คำนึงถึงมาตร ฐานระหว่างประเทศและปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย
>>หมวด 3 ธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
มาตรา 32 บุคคลย่อมมีสิทธิประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ แต่ในกรณีที่จำเป็นเพื่อรักษาความมั่น คงทางการเงินและการพาณิชย์ หรือเพื่อประโยชน์ในการเสริมสร้างความเชื่อถือและยอมรับในระบบลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือเพื่อป้องกันความเสียหายต่อสาธารณชนให้มีการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดให้การประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์ใดเป็นกิจการที่ต้องแจ้งให้ทราบ ต้องขึ้นทะเบียน หรือต้องได้รับใบอนุญาตก่อนก็ได้
ในการกำหนดให้กรณีใดต้องแจ้งให้ทราบ ต้องขึ้นทะเบียน หรือต้องได้รับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้กำหนดโดยพิจารณาจากความเหมาะสมในการป้องกันความเสียหายตามระดับความรุนแรงของผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการ ประกอบธุรกิจนั้น
ในการนี้ จะกำหนดให้หน่วยงานของรัฐแห่งหนึ่งแห่งใดเป็นผู้รับผิดชอบในการควบคุมดูแลในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวก็ได้
ก่อนเสนอให้ตราพระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่ง ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนตามความเหมาะสม และนำ ข้อมูลที่ได้รับมาประกอบการพิจารณา
มาตรา 33 ในกรณีที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้การประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ใดเป็นกิจการ ที่ต้องแจ้งให้ทราบ หรือต้องขึ้นทะเบียน ให้ผู้ที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจดังกล่าวต้องแจ้ง หรือขึ้นทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาก่อนเริ่ม เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งหรือการขึ้นทะเบียนในวันที่ได้รับแจ้งหรือรับขึ้นทะเบียน และให้ผู้แจ้งหรือผู้ขึ้นทะเบียนประกอบธุรกิจนั้น ได้ตั้ง แต่วันที่ได้รับแจ้งหรือรับขึ้นทะเบียน แต่ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาตรวจพบในภายหลังว่า การแจ้งหรือขึ้นทะเบียนไม่ถูกต้อง หรือไม่ครบถ้วน ให้มีอำนาจสั่งผู้แจ้ง หรือผู้ขึ้นทะเบียนแก้ไขให้ถูกต้องหรือครบถ้วนภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งดังกล่าว ในการประกอบธุรกิจ ผู้แจ้งหรือผู้ขึ้นทะเบียนตามวรรคหนึ่งต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาและตาม ที่คณะกรรมการประกาศกำหนด ถ้าผู้แจ้งหรือผู้ขึ้นทะเบียนตามวรรคหนึ่งไม่แก้ไขการแจ้งหรือขึ้นทะเบียนให้ถูกต้อง หรือครบถ้วนตามวรรคสอง หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจตามวรรคสาม ให้คณะกรรมการพิจารณามีคำสั่งลงโทษปรับทางปกครอง ไม่เกินหนึ่งล้านบาท โดยคำนึงถึงความร้ายแรงแห่งพฤติกรรมที่กระทำผิด และในกรณีที่เห็นสมควรคณะกรรมการอาจมีคำสั่งให้ผู้นั้นดำเนินการใด ๆ เพื่อแก้ไข ให้ถูกต้องหรือเหมาะสมได้ หลักเกณฑ์ในการพิจารณาลงโทษปรับทางปกครองให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนดและ ถ้าผู้ถูกลงโทษปรับทางปกครอง ไม่ยอมชำระค่าปรับทางปกครอง ให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับการบังคับทางปกครอง ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับโดยอนุโลม และในกรณี ไม่มีเจ้าหน้าที่ดำเนินการบังคับตามคำสั่ง ให้คณะกรรมการมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อบังคับชำระค่าปรับ ในการนี้ ถ้าศาลปกครองเห็นว่าคำสั่งให้ชำระค่าปรับนั้นชอบด้วยกฎหมายก็ให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาและบังคับให้มีการยึด หรืออายัดทรัพย์สินขายทอดตลาดเพื่อชำระค่าปรับได้
ในกรณีผู้กระทำผิดตามวรรคสี่ไม่ดำเนินการแก้ไขตามคำสั่งของคณะกรรมการหรือกระทำความผิดซ้ำอีก ให้คณะกรรมการมีอำนาจออกคำสั่งห้ามมิให้ผู้นั้นประกอบธุรกิจตามที่ได้แจ้งหรือขึ้นทะเบียนอีกต่อไป
มาตรา 34 ในกรณีที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้การประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์กรณีใดเป็น กิจการที่ต้องได้รับใบอนุญาต ให้ผู้ที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจดังกล่าวยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
คุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาต หลักเกณฑ์และวิธีการขออนุญาต การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การคืนใบ อนุญาต และการสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
ในการประกอบธุรกิจ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ประกาศที่ คณะกรรมการกำหนดหรือเงื่อนไขในใบอนุญาต
ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตฝ่าฝืนหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็ก ทรอนิกส์ตามวรรคสาม ให้คณะกรรมการพิจารณาคำสั่งลงโทษปรับทางปกครองไม่เกินสองล้านบาท โดยคำนึงถึงความร้ายแรงแห่งพฤติกรรมที่กระทำผิด และในกรณีที่เห็นสมควรคณะกรรมการอาจมีคำสั่งให้ผู้นั้นดำเนินการใด ๆ เพื่อแก้ไขให้ถูกต้องหรือเหมาะสมได้ ทั้งนี้ ให้นำความใน มาตรา 33 วรรคห้า มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ถ้าผู้กระทำความผิดตามวรรคสี่ไม่ดำเนินการแก้ไขตามคำสั่งของคณะกรรมการหรือกระทำความผิดซ้ำอีก ให้คณะกรรมการ มีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
>>หมวด 4 ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
มาตรา 35 คำขอ การอนุญาต การจดทะเบียน คำสั่งทางปกครอง การชำระเงิน การประกาศ หรือการดำเนินการใด ๆ ตาม กฎหมายกับหน่วยงานของรัฐหรือโดยหน่วยงานของรัฐ ถ้าได้กระทำในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา ให้นำพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับและให้ถือว่ามีผลโดยชอบด้วยกฎหมายเช่นเดียวกับการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กฎหมายในเรื่องนั้นกำหนด ทั้งนี้ ในพระราชกฤษฎีกาอาจกำหนดให้บุคคลที่เกี่ยวข้องต้องกระทำหรืองดเว้นกระทำการใด ๆ หรือให้หน่วยงานของรัฐออกระเบียบเพื่อ กำหนดรายละเอียดในบางกรณีด้วยก็ได้
ในการออกพระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่ง พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวอาจกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์ต้องแจ้งให้ทราบ ต้องขึ้นทะเบียน หรือต้องได้รับใบอนุญาต แล้วแต่กรณี ก่อนประกอบกิจการก็ได้ ในกรณีนี้ ให้นำบทบัญญัติใน หมวด 3 และบทกำหนดโทษที่เกี่ยวข้อง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
>>หมวด 5 คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
มาตรา 36 ให้มีคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและ สิ่งแวดล้อมเป็นประธานกรรมการ และกรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ได้รับการสรรหาอีกจำนวนสิบสองคน โดยในจำนวนนี้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ในด้านดังต่อไปนี้ด้านละสองคน
1) การเงิน
2) การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
3) นิติศาสตร์
4) วิทยาการคอมพิวเตอร์
5) วิทยาศาสตร์หรือวิศวกรรมศาสตร์
6) สังคมศาสตร์
ทั้งนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิคนหนึ่งของแต่ละด้านต้องมาจากภาคเอกชน และให้ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และ คอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติเป็นกรรมการและเลขานุการ หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาและการเสนอชื่อบุคคลที่เห็นสมควรต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการ ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดให้เลขานุการแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการอีกไม่เกินสองคน
มาตรา 37 ให้คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1) เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อวางนโยบายการส่งเสริมและพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนการแก้ไขปัญหา และอุปสรรคที่เกี่ยวข้อง
2) ติดตามดูแลการประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
3) เสนอแนะหรือให้คำปรึกษาต่อรัฐมนตรีเพื่อการตราพระราชกฤษฎีกาตามพระราชบัญญัตินี้
4) ออกระเบียบหรือประกาศเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามพระราช กฤษฎีกาที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้
5) ปฏิบัติการอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอื่น
ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ให้คณะกรรมการเป็นเจ้าพนักงาน ตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 38 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งสามปี กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่ไม่เกินสองวาระติดต่อกัน
มาตรา 39 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตาม มาตรา 38 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
1) ตาย
2) ลาออก
3) คณะรัฐมนตรีให้ออกเพราะมีความประพฤติเสื่อมเสีย บกพร่อง หรือไม่สุจริตต่อหน้าที่ หรือหย่อนความสามารถ
4) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
5) ได้รับโทษจำคุกโดยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือ ความผิดลหุโทษ
มาตรา 40 ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งตาม มาตรา 39 ให้ถือว่าคณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการ เท่าที่เหลืออยู่ และให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการใหม่แทนภายในหกสิบวันนับแต่วันที่กรรมการพ้นจากตำแหน่ง ให้กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
มาตรา 41 การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงเป็นองค์ประชุมถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่ประธาน ในที่ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ ประธานออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา 42 คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใด แทนคณะกรรมการก็ได้ ให้นำความใน มาตรา 41 มาใช้บังคับแก่การประชุมคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม
มาตรา 43 ให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งชาติ ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานธุรกรรมของคณะกรรมการ
>>หมวด 6 บทกำหนดโทษ
มาตรา 44 ผู้ใดประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่แจ้งหรือขึ้นทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาตาม มาตรา 33 วรรคหนึ่ง หรือโดยฝ่าฝืนคำสั่งห้ามการประกอบธุรกิจของคณะกรรมการตาม มาตรา 33 วรรคหก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน หนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 45 ผู้ใดประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ได้รับใบอนุญาต ตาม มาตรา 34 ต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 46 บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่กระทำโดยนิติบุคคล ผู้จัดการหรือผู้แทนนิติบุคคลหรือผู้ซึ่งมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของนิติบุคคลต้องรับผิดในความผิดนั้นด้วย เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่า ตนมิได้รู้เห็นหรือมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดนั้น

แหล่งที่มา: http://www.kodmhai.com/m4/m4-17/N58/N-58.html

วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

งานชิ้นที่4 :: กลยุทธ์สื่อโฆษณาบนเครื่อข่ายอินเตอร์เน็ต


กลยุทธ์เชิงรับ เป็นวิธีที่ต้องหาจังหวะหรือรอโอกาสที่จะให้ผู้เข้าเยี่ยมชมนั้นซึ่งส่วนใหญ่จะใช้กับผู้ค้นหาผ่านการโฆษณาผ่านเสิร์ชเอนจิ้น (Search Engine)หรือ(Web Directory)เช่น www.yahoo.com, www.google.com การใช้กลยุทธ์วิธีนี้จำเป็นต้องใช้โดยการเชื่อมโยงลัด(Quick Link)เพื่อเข้าสู่สินค้าและบริการโดยตรง

กลยุทธ์เชิงรุก หากเว็บไซต์ไม่มีลูกค้าเข้ามาเยี่ยมชมหรือสั่งซื้อสินค้าเลย ผู้ที่เป็นเจ้าของเว็บไซต์จำเป็นต้องใช้กลยุทธ์ในเชิงรุกด้วยการสรรหาวิธิต่าง ๆ เพื่อเข้าถึงลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมาย

กลยุทธ์ซ่อนเร้น ในบางเว็บไซต์อาจกำหนดให้แสดงข้อความโฆษณาของสินค้าอื่นแฝงเข้ามาร่วมกับสินค้าที่ลูกค้าต้องการด้วย เช่น ในเว็บไซต์ Amazon.com  เมื่อลูกค้าค้นหาชื่อหนังสือที่ต้องการ ในหน้าผลลัพธ์นอกจากการปรากฏชื่อหนังสือตามที่ระบุไว้แล้ว ยังแสดงรายชื่อหนังสือเล่มอื่นที่สัมพันธ์กัน หรืออยู่ในหมวดเดียวกับหนังสือที่ลูกค้าต้องการด้วย ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มโอกาสในการนำเสนอสินค้าให้ลูกค้าพิจารณามากขึ้นนั่นเอง อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์นี้จะต้องใช้เทคโนโลยีจัดการข้อมูลขั้นสูง เช่น ระบบเหมืองข้อมูล (Data  Mining) เป็นต้น

กลยุทธ์สะสมแต้ม  เป็นกลยุทธ์ที่ให้ลูกค้าเข้ามาร่วมกิจกรรมเพื่อแลกกับคะแนนสะสม ซึ่งจะนำไปใช้เป็นสิทธิพิเศษในการแลกซื้อสินค้าได้ ตัวอย่างการร่วมกิจกรรม เช่น การกรอกแบบสอบถามข้อมูลลูกค้า ข้อมูลสินค้าที่ต้องการ หรือการเข้าไปอ่านโฆษณาสินค้าในเว็บไซต์ที่กำหนดไว้ เป็นต้น  ดังนั้น จึงควรจัดหาเครื่องมือจัดการสื่อโฆษณาแบบอัตโนมัติ (Automatic  Content Advertising) เพื่อสนองตอบความต้องการของลูกค้าตามข้อมูลส่วนตัวที่ระบุไว้ โดยระบบจะเลือกเผยแพร่สื่อโฆษณาไปยังกลุ่มลูกค้าที่หวังผลได้ และลูกค้าเองก็ยินยอมที่จะรับข้อมูลที่ตนสนใจด้วย 
ตัวอย่างเครื่องมือประเภทนี้ เช่น ซอฟต์แวร์ One-To-One Commerce (B2C) ของบริษัท BroadVision และยังสามารถใช้เทคโนโลยีเว็บแคสติ้ง (Web Casting) เพื่อเสนอข่าวสารและข้อมูลเฉพาะกลุ่มบุคคลได้


กลยุทธ์ปากต่อปาก  เป็นกลยุทธ์การโฆษณาแบบดั้งเดิม โดยการเผยแพร่ข่าวสารในลักษณะบอกต่อกันเป็นทอด ๆ หรือปากต่อปาก ซึ่งปัจจุบันมีเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่ช่วยให้การกระจายข่าวสารทำได้รวดเร็ว และไปยังกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากขึ้นได้ เช่น การส่งฟอร์เวิร์ดเมลล์ (E-mail Forward) การเล่นเกมส์ออนไลน์ (Game Online) และห้องสนทนา (Chat Room) เป็นต้น

กลยุทธ์โฮมเพจ   กลยุทธ์โฮมเพจ
บริการโฮมเพจ จะให้พื้นที่ฟรีแก่ลูกค้า จำนวน 1 หน้า เพื่อโฆษณาสินค้าและบริการ พร้อมระบุรายละเอียดอื่นๆ อาทิ สถานที่ตั้ง และหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อ เพื่อให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์สามารถติดต่อได้ทันที โดยมีรูปแบบของหน้าโฮมเพจให้ลูกค้าเลือกถึง 5 รูปแบบด้วยกัน ทั้งนี้กลุ่มเป้าหมายหลักของบีโอแอลคือผู้ประกอบการต่างๆ โดยเฉพาะเจ้าของธุรกิจขนาดกลางที่ต้องการใช้โฆษณาประชาสัมพันธ์ สามารถใช้บริการฟรีบนบีโอแอลเว็บไซต์ จึงเป็นอีกทางเลือกที่ดีอีกทางเลือกหนึ่ง

กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด    ทำได้โดยจัดกิจกรรมลด แลก แจก หรือแถมสินค้า เนื่องในเทศกาล หรือโอกาสพิเศษต่าง ๆ นอกจากนี้ยังรวมถึงการแจกคูปอง การจับฉลากรางวัล และการประมูล ซึ่งขึ้นอยู่กับบริษัทว่าจะใช้กลยุทธ์ใดร่วมกัน เพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับเว็บไซต์มากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม การใช้กลยุทธ์นี้ต้องคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมาย สมรรถนะของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ที่จะต้องรองรับขนาดของช่องสัญญาณได้เพียงพอ ในกรณีที่มีผู้ใช้จำนวนมากเข้ามาใช้งานพร้อมกันในเวลาเดียวกัน รวมทั้งเงื่อนไขในการแจกรางวัลที่เหมาะสมด้วย



วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

งานชิ้นที่3 E-Retailing

( B2B ) Business to Business

หมายถึง การซื้อขายระหว่างผู้ผลิตด้วยกัน เช่น ผู้ผลิตรถยนต์สั่งซื้อวัตถุดิบจากโรงงานที่เป็น Supplier หรือ ร้านค้าปลีกสั่งซื้อสินค้ากับบริษัทผู้ผลิตสินค้า เมื่อสต็อกสินค้าลดลงถึงระดับหนึ่ง ผ่านระบบ EDI  โดยส่วนใหญ่ผู้ซื้อและผู้ขายมักจะรู้จักกันล่วงหน้า และอาจทำเอกสารสัญญาที่เป็นกระดาษกันล่วงหน้า ดังนั้นความเสี่ยงที่เกิดจากการซื้อขายจะต่ำ
ตัวอย่างเว็บไซต์ Business-to-Business  (B2B)

http://www.tesco.com/












http://www.bigc.co.th/th/














http://www.siammakro.co.th/







http://www.ec21.com/








http://www.alibaba.com/









2. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทธุรกิจกับบริโภค(Business-to-Consumer หรือ B2C) หมายถึง การที่ธุรกิจขายสินค้าหรือบริการโดยตรงให้กับผู้บริโภค ช่องทางนี้เป็นช่องทางที่ผู้ผลิตขนาดกลางและขนาดเล็กสามารถฉกฉวยเป็นโอกาสในการต่อสู้กับบริษัทขนาดใหญ่ได้
ตัวอย่างเว็บไซต์ Business-to-Consumer  (B2C)
http://www.abcjewelry.com/
http://www.pizza.co.th/
www.kwangham.com
 www.hammax.com,www.toesu.com
 www.pamanthai.com
http://www.dbdmart.com/
www.amazon.com 
www.thaiair.com 
 www.Walmart.com
www.etrade.com 

3. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทผู้บริโภคกับผู้บริโภค (Consumer-to-Consumer หรือ C2C) เป็นการค้าระหว่างบุคคลกับบุคคล หรือระหว่างผู้ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยกันเอง
ตัวอย่างเว็บไซต์ Consumer-to-Consumer  (C2C)
http://www.ebay.com







http://www.goonline.in.th






http://www.dealfish.co.th






http://www.thaishop.in.th/






http://www.tarad.com/







4.C2B (Consumer-to-business) ก็เป็นรูปแบบการค้าที่ใกล้ตัวมากๆ จนเรานึกไม่ถึง เป็นรูปแบบการค้าที่ Consumer หรือผู้ใช้นำสินค้ามา Reviews หรือวิเคราะห์สินค้า จนเว็บเราดังมีคนสนใจเข้ามาชมมาก เราก็จะทำธุรกิจ (Business) กับ Amazon โดยการเอาสินค้าที่เกี่ยวข้องกับที่เรา Reviews มาขาย ซึ่งถ้าขายได้ Amazon ก็จะแบ่งตังให้กับเรา หรือแม้แต่ Adsense ก็เป็นธุรกิจแบบ C2B คือ Consumer ทำธุรกิจกับ Business โดยนำเสนอสิ่งที่ Business ต้องการ ซึ่งในกรณี Adsense ที่เขาต้องการก็คือเนื้อหาเว็บที่ดีมีประโยชน์ของ Consumer ที่ทาง Google จะเอาไปขายต่อให้กับพวกที่ต้องการโฆษณาบนเว็บที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับสินค้าตนเอง หรือพวกที่ทำ Adwords ไงครับ
ตัวอย่างเว็บไซต์ Consumer-to-business  (C2B)
http://www.naiin.com/






http://www.amazon.com/





http://www.ebay.com







http://www.goonline.in.th






http://www.dealfish.co.th






5.  (B2E) Business-To-Employee การทำธุรกรรมระหว่างธุรกิจกับพนักงาน มุ่งเน้นการให้บริการแก่พนักงานในด้านต่าง ๆ เช่น ข้อมูลของสินค้าและบริการ กิจกรรมต่าง ๆ ระหว่างผู้ประกอบการ องค์กร กับพนักงาน โดยอาศัยระบบเครือข่ายอินทราเน็ต

https://tims.tescolotus.com/TIMS/

www.globalsources.com
http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5128090/dex16.html
http://www.apple.com/
http://se-ed.com/


งานชิ้นที่2 ระบบการชำระเงินของประเทศไทย


จงเปรียบเทียบการชำระเงินของระบบต่อไปนี้

บัตร Debit card และ Credit card
Debit card ใคร ๆ ก็ทำได้ดั่งบัตร ATM ไม่ว่าคุณจะมีกะตังค์เป็นหมื่นล้านจากการขายหุ้น หรือเป็นเด็กนักเรียนที่ยังขอเงินจากผู้ปกครอง ใช้ได้ทั้งในและนอกประเทศในการจับจ่ายซื้อของในร้านที่รับบัตร Visa หรือ Master Card แต่ถ้าบัตรนี้หายต้องรีบตาลีตาเหลือกแจ้งอายัดบัตรทันทีโดยไม่ชักช้า เพราะถ้ามีใครเก็บบัตรได้แล้วนำไปรูดซื้อของ เงินในบัญชีก็จะหายไปอย่างไม่ต้องสงสัย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามันเลวร้ายซะทีเดียว เพราะผู้ถือบัตรสามารถกำหนดวงเงินถอนเงินสดและวงเงินซื้อของได้ เช่น ถอนเงินได้วันละแสน แต่ซื้อของผ่านบัตรได้วันละห้าหมื่นเป็นต้น และถ้าไม่ประสงค์จะใช้ซื้อของก็เลือกได้เช่นกัน Debit card รุ่นใหม่ ๆ ที่บางธนาคารออกมาจะมี chip ติดอยู่บนบัตรเหมือนบัตรประชาชน ซึ่ง chip ที่ว่านี้เครื่อง ATM บางธนาคารเริ่มรองรับแล้ว เพื่อป้องกันการถูกขโมยข้อมูลอย่างที่โดนจากบัตรแถบแม่เหล็ก

Credit card นั้นผู้ที่จะมีได้ต้องมีอายุ 20 ขึ้นไป มีรายได้ขั้นต่ำตามที่ธนาคารชาติกำหนด ปัจจุบันราว 15,000 บาท (ข้อมูลเปลี่ยนแปลงทุกปี) หรืออาจทำบัตรเสริมจากบัตรหลักเพราะเป็นลูกหรือคู่สมรสของผู้ถือบัตรก็ได้ ซึ่งปัจจุบันบัตรประเภทนี้ยังแบ่งออกเป็นบัตรมาตรฐาน บัตรทอง บัตรแพลตตินั่ม บัตรไทเทเนี่ยม ซึ่งมีวงเงินและสิทธิประโยชน์ต่างกัน แต่มีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือให้ผู้ถือบัตรสามารถจับจ่ายผ่านร้านที่รับบัตรได้อย่างสะดวกโดยไม่ต้องพกเงินสดหรือมีเงินในบัญชีให้ตัดแบบเดบิตการ์ด และผู้ออกบัตรพุงปลิ้นจากการกินเปอร์เซนต์จากการจับจ่ายของผู้ถือบัตรจากร้านค้า


BAHTNET :  Media Clearing
ระบบโอนเงินรายใหญ่ (BAHTNET)
บริการหลัก คือ การโอนเงินระหว่างสถาบันการเงิน โดยเน้นที่มูลค่าธุรกรรมขนาดใหญ่ ผู้รับเงินสามารถถอนเงินจากบัญชีได้ทันที
วิธีการชำระเงินแบบมีผลทันที หรือ Real Time Gross Settlement (RTGS)
สมาชิก BAHTNET คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย, ธนาคารพาณิชย์ไทยทั้งหมด, ธนาคารต่างประเทศ, บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรม และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้บริหารระบบ

ระบบโอนเงินรายย่อย (Media Clearing)
สมาชิกสามารถวางหลักทรัพย์ค้ำประกัน เช่น พันธบัตรรัฐบาลพร้อมสัญญาซื้อคืนให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยไว้ก่อน เมื่อมีการขาดเงินระหว่างตัดบัญชี ธนาคารแห่งประเทศไทยจะปล่อยกู้ให้ทันที
ในกรณีที่สมาชิกมีบัญชีกับธนาคารแห่งประเทศไทยตามสาขาต่าง ๆ มากกว่า 1 บัญชี เมื่อใดที่เกิดการขาดเงินที่บัญชีหนึ่ง ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถโอนยอดจากบัญชีอีกสาขาหนึ่งมาตัดได้ ให้ธนาคารสมาชิกใช้บริการตัดบัญชีเช็คระหว่างธนาคารผ่าน BAHTNET ทำให้สมาชิกสามารถบริหารบัญชีระหว่างสาขาของตนเองได้สะดวกขึ้นองค์ประกอบที่เพิ่มขึ้น คือ สามารถทำธุรกรรมส่งมอบและชำระราคาพร้อมกันได้ แบบมีผลทันที ซึ่งเหมาะสำหรับการซื้อขายและชำระราคาตราสาร
ทางการเงิน นอกจากนี้สมาชิกสามารถส่งคำสั่งผ่านระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์ได้


SWIFT: Western Union
ระบบการโอนเงินระหว่างประเทศ (SWIFT)
  คำสั่งโอนระหว่างประเทศผ่านเครือข่ายสากล SWIFT หรือ Society for World wide Interbank Financial Telecommunication เกิดจากการรวมกลุ่มของสถาบันการเงิน เพื่อสร้างเครือข่ายการรับส่งข้อมูลทางการเงินระหว่างประเทศ

ระบบการโอนเงินระหว่างประเทศ (Western Union)
  ระบบนี้เป็นทางเลือกของการโอนเงินรายย่อยระหว่างประเทศ โดยผู้ให้บริการคือ บริษัท Western Union Financial Service


ช่องโหว่ของบัตรเครดิต
1. การขอใช้บัตรเครดิตในขณะนี้ทำได้ง่ายมาก เพียงแต่ส่งใบสมัครทางไปรษณีย์พร้อมเอกสารประจำตัว คือสำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัญชีเงินฝาก เมื่อผู้ให้บริการบัตรเครดิตอนุมัติก็จะส่งบัตรเครดิตมาให้ผู้ขอทางไปรษณีย์เช่นเดียวกัน โดยที่ทั้งสองฝ่ายไม่ต้องพบหน้าค่าตากันแต่อย่างไร เป็นช่องทางให้ผู้ทุจริตลักลอบนำเอกสารประกอบคำขอดังกล่าวของคนอื่นไปใช้ขอบัตรเครดิตได้ จึงเป็นข้อสังเกตให้พึงระวังว่าต้องเก็บรักษาเอกสารสำคัญไว้ให้ดี2. ในกรณีที่ต้องการขอใช้บัตรเครดิต เวลากรอกใบสมัครฯ หากมีบริการเสริมส่วนใดที่ไม่ต้องการใช้ ต้องขีดคร่อมข้อความหรือช่องว่างที่ให้กรอกข้อความทิ้ง เช่น การขอให้คนอื่นมีสิทธิใช้บัตรเสริมคู่กับบัตรหลักของเรา, การขอเบิกถอนเงินสดอัตโนมัติ ฯลฯ เป็นการปิดช่องทางที่อาจเกิดการทุจริต3. เมื่อบัตรเครดิตสูญหายหรือถูกขโมยไป ผู้ใช้บัตรเครดิตยังคงต้องรับผิดชอบต่อรายการใช้บัตรเครดิตที่เกิดขึ้น จนกว่าจะได้แจ้งผู้ให้บริการบัตรเครดิตทราบถึงการที่บัตรสูญหายแล้ว จึงควรจะจดจำหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ให้บริการบัตรเครดิตไว้ เมื่อเกิดกรณีบัตรสูญหายจะต้องโทรศัพท์แจ้งระงับการใช้บัตรทันที หลังจากนั้นต้องหาวิธีแจ้งบัตรสูญหายให้มีหลักฐานการแจ้งไว้ด้วย เช่น แจ้งเป็นหนังสือส่งถึงผู้ให้บริการบัตรเครดิตโดยเก็บหลักฐานการส่งเพื่อใช้อ้างอิงต่อไป4. ระมัดระวังการค้างชำระหนี้อย่าให้กลายเป็นหนี้เสีย เพราะข้อมูลเครดิตจะถูกส่งไปเก็บไว้ที่ศูนย์ประมวลข้อมูลเครดิต หากในโอกาสหน้าที่ต้องทำกิจการเกี่ยวข้องกับการเงิน ก็อาจถูกตรวจสอบพบข้อมูลหนี้เสียใน บัญชีดำ ได้บัตรเครดิตจึงมีทั้งประโยชน์และอาจมีทั้งปัญหากับผู้ใช้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความระมัดการเก็บรักษาบัตรเครดิต การวางแผนใช้จ่ายอย่างรอบคอบ และถ้าหากมีปัญหาหนี้สินที่ไม่สามารถใช้หนี้คืนให้กับเจ้าหนี้ได้แล้วก็จะเป็นปัญหาที่ติดตัวไปในระยะยาวได้



รายชื่อผู้ให้บริการ Electronic Bill Presentment and Payment (EBPP)
ธนาคารยูโอบี
ธนาคารกสิกร
ธนาคารไทยพาณิชย์
ธนาคารTMB
ธนาคารกรุงศรี
ธนาคารเกียรตินาคิน
ธนาคารซิติแบงก์
HSBC
ธนาคารทิสโก้
ธนาคารธนชาต

นักศึกษาคิดว่าปัจจุบันการเข้ามามองเทคโนโลยี E-Commerce มีผลกระทบต่อนักศึกษาอย่างไรและคิดว่ามีผลดีหรือผลเสียหรือไม่อย่างไร
E-Commerce เป็นช่องทางที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่ายและสบายกว่าอย่างเห็นได้ชัก แถมยังแทบจะไม่ต้องลงทุนอะไรเลยด้วยซ้ำ แต่ก็ไม่ดีสำหรับกลุ่มคนที่ทำไม่เป็นอาจจะตกเป็นเหยื่อของคนที่มีความประสงค์ร้ายๆได้ 

ข้อดี
1.เปิดดำเนินการค้า 24 ชั่วโมง
2.ดำเนินการค้าอย่างไร้พรมแดนทั่วโลก
3.ใช้งบประมาณลงทุนน้อย
4.ตัดปัญหาด้านการเดินทาง
5.ง่ายต่อการประชาสัมพัธ์โดย สามารถประชาสัมพันธ์ได้ทั่วโลก
ข้อเสีย
1.ต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ
2.ประเทศของผู้ซื้อและผู้ขายจำเป็นต้องมีกฎหมายรองรับอย่างมีประสิทธิภาพ
3.การดำเนินการด้านภาษีต้องชัดเจน
4.ผู้ซื้อและผู้ขายจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานในเทคโนโลยีอินเทอร์เน

e-Commerce สามารถสร้างกลยุทธ์ในการแข่งขันกับคู่แข่งทางการค้าได้หรือไม่อย่างไร
ก่อนอื่นต้องรู้หรือมีข้อมูลของการทำ E-commerce คร่าวๆก่อน ว่ามันคือ อะไร ทำอย่างไร เริ่มต้นอย่างไร แต่สรุปแบบคร่าวๆมีดังนี้
1 ) เริ่มต้นด้วยการคัดเลือกโดเมน ซึ่งส่วนมากจะตั้งโดเมนแบบตามใจข้าพเจ้า ซึ่งจริงๆแล้วไม่ใช่ การตั้งโดเมนมีหลักเกณฑ์ของมัน ไม่ใช่ใครจะตั้งก็ตั้ง ตั้งโดเมนไม่เข้าท่าถึงขั้นล้มเหลวไปก็มาก ซึ่งผลที่ออกมาก็เลิกร้างไป เพราะได้โดเมนไม่เหมาะสม ถ้าไม่รู้จริงๆขอแนะนำให้ปรึกษากับผู้รู้จะดีกว่า ใครก็ได้ที่มีความรู้ในเรื่องของโดเมน
2 ) วางแผนสร้างเว็บไซต์ ซึ่งถ้าไม่มีความรู้ในเรื่องการเขียนโปรแกรม ขอแนะนำให้ใช้เว็บไซต์สำเร็จรูปหรือเว็บไซต์ระบบอัตโนมัติ แต่การเลือกใช้บริการแต่ละเจ้าก็ต้องดูรายละเอียดและหาข้อมูลให้ชัดเจน ในที่นี้เราขอแนะนำให้ใช้เว็บไซต์สำเร็จรูป ทั้งนี้เพื่อท่านจะได้บริหารได้เองเต็ม 100% ควบคุมดูแลทุกอย่างไม่ต้องอาศัยใครหายใจแทน พึ่งตนเองดีที่สุด แต่ต้องดูประสิทธิภาพของแต่ละรายด้วยนะท่าน
3 ) โฆษณาเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นมา เช่น การเพิ่มเว็บไซต์ในเว็บไซต์ดังๆหลายที่ การทำ Search Engine ซึ่งในปัจจุบันถือว่าเป็นหัวใจหลักๆของ E-commerce การโฆษณาตามเว็บไซต์ต่างๆ และการโฆษณาแบบออฟไลน์
4 ) การพัฒนาเว็บไซต์หรือการอัพเดท เว็บไซต์ต้องมีการอัพเดทอย่างสม่ำเสมอ เว็บไซต์ไม่มีการที่จะสร้างเสร็จแล้วเก็บไว้ ต้องมีการเคลื่อนไหวหรืออัพเดทอย่างต่อเนื่อง จึงจะเป็นเว็บไซต์ที่ดี ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นแบบคร่าวๆเริ่มต้นเท่านั้น และในความเป็นจริงแล้วท่านต้องจ่ายแบบต่อเนื่องแทบทุกขั้นตอน แต่ของเราจ่ายครั้งเดียวจบครับ ไม่ต้องเสียเวลาหาผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านจากที่ต่างๆให้วุ่นวายใจ